แนวทางการแก้ไขปัญหา



กรณีที่ปรากฏข่าวสารเผยแพร่ตามสื่อมวลชนต่างประเทศระบุว่าเจ้าหน้าที่ของไทยได้กระทำการในลักษณะละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มมุสลิมโรฮิงญาที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยโดยการผลักดันกลุ่มดังกล่าวออกจากเขตแดนทางทะเลของไทยด้วยเรือประมงที่ไม่ติดเครื่องยนต์แต่มอบอาหารและนํ้าให้อย่างเพียงพอกรณีดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มมุสลิมโรฮิงญาบางส่วนเสียชีวิตก่อนถึงฝั่งและข่าวสารข้างต้นได้ถูกกลุ่ม/องค์กรต่างๆนำไปเคลื่อนไหวผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกองทัพและประเทศนั้นสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์สถาบันวิชาการป้องกันประเทศขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยกำหนดยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเป็น๓ห้วงคือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในปัจจุบัน(Immediate Response) ระยะสั้นถึงปานกลาง (Redesigned Actions) และระยะยาว (Restructure)
. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในปัจจุบัน (Immediate Response)
.๑รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายมาตรการและแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาโรฮิงญาอย่างเป็นระบบตลอดจนดำเนินการต่อผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเด็ดขาดโดยมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการดำเนินการแก้ไข
.๒หารือ/ประชุมกับประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้องอาทิพม่าบังกลาเทศมาเลเซียอินโดนีเซียและUNHCR เพื่อร่วมหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะควรให้ภาพที่ชัดเจนว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่รับภาระของปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทางทะเลทั้งที่ไม่ได้เป็นประเทศผู้ก่อปัญหา
.๓นำประเด็นโรฮิงญาเข้าเสนอในการประชุม ASEAN SUMMIT ครั้งที่๑๔เพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาร่วมกันซึ่งผลจากการประชุมว่าด้วยการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนตามมาตรา๑๔ของกฎบัตรอาเซียนมีการตกลงชัดเจนว่าต้องจัดตั้งองค์กรเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานมนุษยชนอาเซียนขึ้นและมอบหมายให้คณะกรรมการจัดทำร่างขอบเขตของงาน(Terms of Reference: TOR) ขึ้นโดยหัวใจของร่างขอบเขตของงานคืออำนาจและหน้าที่ขององค์กรมี๒ประเด็นสำคัญคือการส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียนเพื่อสร้างความตระหนักการพัฒนาบรรทัดฐานในเรื่องสิทธิมนุษยชนก่อนนอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้อาเซียนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาที่สำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนนอกจากนี้ยังจะนำเข้าสู่การประชุมกระบวนการบาหลี(Bali Process) เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาอีกด้วย๑.๔สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาคมโลกโดยยืนยันบนหลักการว่ากลุ่มโรฮิงญาเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย(Illegal migration) ที่มิใช่ผู้หนีภัยจากการสู้รบ(Displaced person from fighting) และมิใช่เป็นผู้อพยพ/ลี้ภัย (Refugee) ทางการไทยได้ปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาอย่างชอบธรรมตามกรอบกฎหมายของไทยมิได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังที่สื่อต่างประเทศกล่าวอ้าง
.๕กรณีที่มีข้อเรียกร้องให้จัดตั้งศูนย์พักพิงหรือศูนย์ผู้ลี้ภัยให้แก่ชาวโรฮิงญาทางการไทยควรยืนยันจุดยืนที่เห็นพ้องร่วมกับUNHCR ว่าสถานภาพของชาวโรฮิงญาคือผู้อพยพเพื่อเหตุผลด้านเศรษฐกิจไม่เข้าข่ายผู้ลี้ภัยและอาจยอมรับให้พักพิงได้ชั่วคราวในระยะสั้นด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรมเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศที่สามเท่านั้น
.๖เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเคร่งครัดในการปฏิบัติงานตามรปจ.กฎหมายและหลักมนุษยธรรมตามความเหมาะสม
.๗เร่งปราบปรามเจ้าหน้าที่และผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายและค้ามนุษย์อย่างจริงจังและเด็ดขาด
. การแก้ไขปัญหาในระยะสั้นถึงปานกลาง(Redesigned Actions)
.๑เพิ่มความเข้มในการปฏิบัติงานทั้งทางบกและทางทะเลโดยทางบกเพิ่มกำลังลาดตระเวนตามแนวชายแดนที่คาดว่าจะมีผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายส่วนทางทะเลต้องเพิ่มการลาดตระเวนทางทะเลและต้องกำหนดกฎการปฏิบัติ(Rule of Engagement: ROE) พิเศษในปฏิบัติการร่วมในการลาดตระเวนทางทะเลระหว่างไทยมาเลเซียอินโดนีเซียและสิงคโปร์เพื่อสกัดกั้นและผลักดันการเข้ามาของกลุ่มคนเหล่านี้
.๒ร่างระเบียบปฏิบัติประจำ(Standard Operating Procedure: SOP) หรือกฎการปฏิบัติในการปฏิบัติกับชาวโรฮิงญาให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
.๓ชี้แจง/อบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจบทบาทหน้าที่และขอบเขตการปฏิบัติงานของตนตามหลักสิทธิมนุษยชนรวมทั้งเคร่งครัดในการปฏิบัติงานตามรปจ.และกฎหมาย
.๔ถ่ายรูป/บันทึกภาพการจับกุมและ/หรือการปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าไม่มีการทำร้ายร่างกายหรือละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยมีภาคประชาชนหรือองค์กรสิทธิมนุษยชนร่วมดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดตามกฏหมายบัญญัติ
.๕กำหนดขอบเขตที่พักพิงชั่วคราวที่ชัดเจนดำเนินการขึ้นทะเบียนประวัติเพื่อจะได้ทราบจำนวนและข้อมูลพื้นฐานที่ใช้เป็นประโยชน์ในการส่งกลับประเทศต้นทางอย่างถูกต้องหรือส่งต่อไปยังประเทศที่สามดำเนินการคัดแยกและสืบสวนให้ได้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้เดินทางมาจากภูมิลำเนาใดด้วยวิธีการใดซึ่งจะทำให้ทางการไทยสามารถเจรจากับประเทศที่ต้องรับประชากรของตนกลับภูมิลำเนาได้อาทิพม่าหรือบังกลาเทศและทำให้ประเทศดังกล่าวไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้
.๖เพิ่มความเข้มข้นด้านการข่าวเร่งปราบปรามเจ้าหน้าที่และผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายและค้ามนุษย์อย่างจริงจังและเด็ดขาด
. การแก้ไขปัญหาในระยะยาว(Restructure)
.๑กองทัพควรแสดงจุดยืนและบทบาทการให้การสนับสนุนต่อกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจตลอดจนการเข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีการระดมความคิดเห็นซึ่งประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนของสังคมอาทินักวิชาการภาคประชาสังคมตลอดจนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงในปัญหามุสลิมโรฮิงญาทั้งนี้มีปัจจัยแห่งความสำเร็จอยู่ที่การกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนและเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
.๒ระดมความคิดของนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้านเพื่อให้ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาในระยะยาวนำเสนอต่อรัฐบาล
.๓ประสานการทำงานระหว่างภาครัฐองค์กรเอกชนอิสระ(NGOs) และสื่อมวลชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและเกิดความร่วมมือในอีกมิติหนึ่ง
.๔เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องเคร่งครัดในการปฏิบัติงานตามรปจ. และกฎหมาย
.๕ประชาสัมพันธ์/สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางของภาครัฐเพื่อนำไปสู่การประสานความร่วมมือของทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาร่วมกัน
.๖การแก้ไขปัญหามุสลิมโรฮิงญาควรดำเนินการพร้อมกันใน๓แนวทางกล่าวคือ
- แนวทางที่๑ (Track I) ดำเนินการโดยความริเริ่มของหน่วยงานและเครื่องมือภายใต้การควบคุมของภาครัฐ
- แนวทางที่๒ (Track II) ดำเนินการโดยความริเริ่มของภาควิชาการ
- แนวทางที่๓ (Track III) ดำเนินการโดยภาคประชาสังคม(Civil Society Organization: CSO)

อนึ่งในการดำเนินการของแต่ละแนวทางให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐนักวิชาการภาคประชาสังคม NGOs อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องรวมทั้งการแสวงหาความร่วมมือในระดับพหุภาคีเพื่อแบ่งเบาภาระของไทยที่ต้องแบกภาระแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในประเทศกว่า๒ล้านคนทั้งนี้เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมในทุกมิติและจากทุกมุมมองของทุกภาคส่วนในสังคมทั้งในระดับชาติและภูมิภาคอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น