ประวัติของชาวโรฮิงญา





โรฮิงญา เป็นกลุ่มชนบริเวณชายแดนฝั่งพม่าที่พูดภาษาจิตตะกอง-เบงกาลี และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธสถานภาพพลเมืองของชาวโรฮิงยา ส่งผลให้มีชาวโรฮิงยาจำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศอื่นเพื่อแสวงหา ชีวิตที่ดีกว่า
มักมีคนเข้าใจผิดว่าอาระกันกับโรฮิงญาคือคนกลุ่มเดียวกัน จริงๆแล้วชาวอาระกันและชาวโรฮินยาเป็นคนละกลุ่มกัน ชาว อาระกันมาจากรัฐอาระกันหรือรัฐยะไข่ของพม่า ส่วนชาวโรฮินยาหรือโรฮิงญามาจากเมืองจิดตะกองของบังกลาเทศ ทั้งสองกลุ่มเป็นพวกเชื้อสายเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน แยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร ต่างกันที่สัญชาติเพราะอยู่คนละประเทศ แต่นับถือศาสนาเดียวกันคือ อิสลาม แต่โดยส่วนใหญ่แล้วชาวโรฮิงญาแล้วจะอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอะรากัน (ยะไข่) ในตอนเหนือของประเทศพม่าติดกับชายแดนประเทศบังกลาเทศ มากกว่าอาศัยอยู่ในบังคลาเทศ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง Maungdaw, Buthidaung, Rathedaung, Akyab และ Kyauktaw
ตั้งแต่แรกเริ่มเป็นต้นมา ประเทศพม่ามองว่าพวกโรฮิงญาไม่มีความจงรักภักดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวโรฮิงญาบางคนต้องการสร้างรัฐอิสระขึ้นทางอะรากันตอน เหนือ และผนวกเข้ากับปากีสถาน
พม่าไม่ยอมรับว่าโรฮิงญาเป็นพลเมือง และในปี พ.ศ. 2491 กองทหารพม่าออกปฏิบัติการกวาดล้างพวกนี้ หมู่บ้านหลายร้อยแห่ง “ถูกเผาและคนหลายพันคนถูกฆ่า ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลอพยพหนีไปยังบริเวณที่เป็นปากีสถานในขณะนั้น” (Yunus 1995:3) และ นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่เจ้าหน้าที่ทางการพม่าพยายามจะข่มขวัญและขับไล่ พวกโรฮิงญาในครั้งต่อ ๆ มาอีก ทำให้ผู้ลี้ภัยหลั่งไหลเข้าสู่ปากีสถานและต่อด้วยบังคลาเทศระลอกแล้วระลอกเล่า
ในมุมมองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่ "ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย" และอพยพมากจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้นด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลเผด็จการพม่าทำให้ประชาชนชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง (Indigenous groups) ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า
ในตอนแรกเจ้าหน้าที่ทางการที่นั่นต้อนรับพวกโรฮิงญาในฐานะเป็นโมฮาเจียร์ (ผู้ลี้ภัยอิสลาม) และตามรายงานข่าวทางการได้วางแผนจะสร้างหมู่บ้านตัวอย่างที่เหมือนไร่นา สหกรณ์แบบรัสเซียให้กับคนพวกนี้ (“Chottograme”1949) แผนการนี้ไม่ได้กลายเป็นรูปธรรมขึ้นมา และต่อมาอีกไม่นานโรฮิงญาก็ได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นคนต่างด้าว
ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากว่า 250,000 คน อาศัยอยู่ในบังคลาเทศในค่ายที่สหประชาชาติดูแลอยู่ในแถบบริเวณชายแดน บางคนกลับไปพม่าในเวลาต่อมา บางคนหลอมรวมเข้ากับสังคมบังคลาเทศ และประมาณ 20,000 คน ยังอาศัยอยู่ในค่ายใกล้กับเท็คนาฟ อย่างน้อยอีก 100,000 คน อาศัยอยู่นอกค่าย และทางการบังคลาเทศพิจารณาว่าเป็นผู้ลี้ภัยที่ผิดกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2542 ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้อย่างน้อย 1,700 คน ติดคุกในบังคลาเทศด้วยข้อหาข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมาย (UNHCR 1997:254; “Twenty-five” 1999)
ผู้ลี้ภัยโรฮิงญาที่ยากจนไร้สัญชาติจำนวนมากจึงอพยพไปสู่เมืองใหญ่ในบังคลาเทศ มาเลเซีย ปากีสถาน และเดินทางต่อไป ซึ่งประเทศแถบอ่าวเปอร์เชียที่ซึ่งเชื่อกันว่ามีคนกลุ่มนี้กว่า 200,000 คนอาศัยอยู่ในช่วงทศวรรษ 1990 (Lintner 1993; Human Rights Watch 2000) ชาวโรฮิงญาบางคนได้รับความช่วยเหลือจากองค์การอิสลามต่าง ๆ และเข้าร่วมการต่อสู้ในอัฟกานิสถานโดยต้องทำหน้าที่เสี่ยงภัยที่สุดใน สมรภูมิรบ กวาดล้างกับระเบิดและแบกสัมภาระ (Lintner 2002) ดังนั้นการที่ประเทศพม่าไม่ไว้ใจชุมชนชายแดนจึงนำไปสู่การพลัดถิ่นข้ามชาติ อย่างรวดเร็วและทำให้ปัจจุบันมีชุมชนอินเตอร์เน็ต และแหล่งข่าวข่าวของโรฮิงญาเองเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
สาเหตุที่โรฮิงญาไม่สามารถอยู่ในประเทศของตนเองได้ และส่งกลับไปก็จะหนีออกมาอีก
ชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่ยังคงถูกปฏิเสธสิทธิในสัญชาติภายใต้กฎหมายพลเมืองพม่าปี 2525 พวกเขาอาศัยอยู่ในรัฐระไข่ห์ ตอนเหนือ ซึ่งยังคงต้องขออนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมเพื่อออกจากหมู่บ้าน เรื่องดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการค้าขายและแสวงหางานทำ นอกจากนั้นพวกเขามักจะถูกบังคับให้เป็นแรงงานอีกด้วย
ชาวมุสลิมโรฮิงยายังถูกจำกัดสิทธิพลเมืองอีกหลายประการ ได้แก่ ไม่มีอิสระในการเดินทาง การบังคับเก็บภาษี การยึดที่ดินและบังคับย้ายถิ่น การขัดขวางการเข้าถึงด้านสาธารณสุข ที่พักอาศัยและอาหารไม่เพียงพอ การบังคับใช้แรงงาน รวมทั้งมีข้อจำกัดในการสมรส ซึ่งส่งผลให้ชาวมุสลิมโรฮิงยาหลายพันคนอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคซับซ้อน
"ผมกลับไปที่ประเทศพม่าไม่ได้ ถ้ากลับไปผมต้องโดนฆ่าแน่ แต่ตอนนี้ อยู่ที่นี้ผมก็ไม่มีเอกสารที่แสดงสถานะถูกต้องทางกฎหมาย" - ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
จากข้อมูลของป้องกันจังหวัดระนอง ระบุว่า ชาวโรฮิงญา เริ่มอพยพเข้าประเทศไทยทางด้านจังหวัดระนองครั้งแรกเมื่อปี 2548 แต่ยังไม่มีการบันทึกสถิติไว้
ต่อมาในปี 2549 มีการจับกุมได้ 1,225 คน
ปี 2550 จับกุม 2,763 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2549 คิดเป็น 125%
และล่าสุดปี 2551 จับกุม 4,886 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 คิดเป็น 77%
ซึ่งยังไม่รวมที่เล็ดลอด ไปได้ และข้อมูลของจังหวัดอื่น ๆ ในจังหวัดแถบชายฝั่งอันดามันซึ่งมีการจับกุมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
รัฐไทยมักจะเชื่อมโยงกลุ่ม “โรฮิงญา” เข้ากับกลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

อ้างอิง  http://www.tacdb-burmese.org/
ภาพจาก http://news.voicetv.co.th/

1 ความคิดเห็น: